วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ของการวิจัยกับนวัตกรรมการศึกษาของงานวิจัยที่ศึกษา

 การวิจัยกับนวัตกรรมการศึกษา 
หัวข้องานวิจัยที่สนใจ    การใช้ social Media เป็นสื่อในการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมขัญคอนแวนต์ สีลม
นวัตกรรมที่สนใจ การใข้ keynote สำหรับเป็นสื่อการเรียนการสอน (**เลือกเป็นตัวอย่างนวัตกรรมในงานชิ้นที่ 2)

ความหมายของ Social Media
http://biologystem.blogspot.com/2013/02/social-media.html
คำว่า “Social” หมายถึง "สังคม" ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่มากในปัจจุบัน และมีอิทธิในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก
 คำว่า “Media” หมายถึง "สื่อ" ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น สามมารถปรับใช้ในระบบการศึกษาไทยได้
          ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กล่าวคือ สังคมแห่งการเรียนรู้ ในศตวรรที่ 21
ความหมายของ  Flipped Classroom
http://www.knewton.com/flipped-classroom/
            สรุป Flipped Classroom หมายถึง  ห้องเรียนกลับด้าน กล่าวคือ เป็นแนวทางการเรียนการสอนแบบใหม่ที่มีโดยการให้นักเรียนศึกษาที่บ้านจากสื่อที่ครูผู้สอนได้ทำไว้ และให้นักเรียนมาทำการบ้านที่โรงเรียน เมื่อเกิดข้อสงสัยครูผู้สอนเป็นผู้ช่วยในการแก้ข้อสงสัย http://www.youtube.com/watch?v=1nXqfd2oKQA
            จากประสบการณ์การสอน ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ดิฉันพบปัญหาเวลาในการเรียนไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียนได้ทั้งหมด เนื่องจากนักเรียนไม่มีความรู้พื้นฐานก่อนการมาเรียนในชั้นเรียน ครูจึงต้องเป็นผู้นำความรู้ให้กับนักเรียนทั้งหมดในหน้าชั้นเรียนซึ่งไม่สามารถสอนได้ เพราะความรู้ในปัจจุบันไม่จำกัดความคิดและข้อสงสัยของนักเรียน จึงเป็นสาเหตุของเวลาในการเรียนการสอนไม่เพียงพอและความรู้ไม่มีขีดจำกัด ดิฉันได้คิดสร้างสื่อการเรียนรู้ โดยใช้โปรมแกรม Keynote ค่ะ แล้วนำไฟล์นั้น convert เป็น movie  หลังจากนั้นจึงทำการตัดต่อคลิปวีดิโอการสอนและบันทึกการสอนโดยโปรแกรม iMovie ค่ะ โดยใช้ Social Media เป็นสื่อกลางในการนำเสนอ คือ นำสื่อการเรียนรู้ที่สร้าง หรือสื่อข้อมูลที่น่าสนใจลง youtube หรือ บางคลิป post ลง facebook ให้นักเรียนเข้าไปติดตาม บางเรื่องที่นักเรียนไป Flipped Classroom แล้วสงสัย ดิฉันก็ตอบคำถามนักเรียนผ่าน line ที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย หรือนำประเด็นคำถามมาพูดคุยในชั้นเรียน โดยให้นักเรียนเป็นสื่อกลางการเรียนรู้ Child center 


        พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
            สื่อต่างๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งคนที่อยู่ในสังคมออนไลน์  ซึ่งสื่อเหล่าแต่ละคนสามารถเข้าไปดูได้ เข้าไปสร้างได้ และสามารถแลกเปลี่ยนสื่อกันได้ เป็นสื่อของสังคมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน ตั้วอย่างเช่น  สังคมออนไลน์ของผู้ใช้งาน Facebook สมาชิกแต่ละคนจะสามารถ นำเอาสื่อต่างๆ เช่น เรื่องราวของตังเองหรือเรื่องราวต่างๆ ภาพ วีดิโอ เผยแพร่ไปยังสมาชิกทุกคนในเครือข่ายได้ ขณะที่สมาชิกคนอื่นก็สามารถ เสนอสื่อของตนเองขึ้นมาแลกเปลี่ยนได้ ดังนั้นสื่อต่างๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกับสมาชิกในสังคมออนไลน์นั้น จะเรียกว่า Social Media

ความสำคัญของ Social Media มีลักษณะดังนี้
      1 เป็นสื่อที่แพร่กระจายด้วยปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม
        ตรงนี้ไม่ต่างจากคนเราสมัยก่อนครับ ที่เกิดเรื่องราวที่น่าสนใจอะไรขึ้นมา ก็พากันมานั่งพูดคุยกันจนเกิดสภาพ Talk of the town แต่เมื่อมาอยู่ในโลกออนไลน์ การแพร่กระจายของสื่อก็ทำได้ง่ายขึ้นโดยเกิดจากการแบ่งปันเนื้อหา (Content Sharing) จากใครก็ได้ อย่างกรณีของป้า Susan Boyle ที่ดังกันข้ามโลกเพียงไม่กี่สัปดาห์จากการลงคลิปที่ประกวดร้องเพลงในรายการ Britain’s Got Talent ผ่านทาง Youtube เป็นต้น ทั้งนี้ Social media อาจจะอยู่ในรูปของ เนื้อหา รูปภาพ เสียงหรือวิดีโอ
      2 เป็นสื่อที่เปลี่ยนแปลงสื่อเดิมที่แพร่กระจายข่าวสารแบบทางเดียว (one-to-many) เป็นแบบการสนทนาที่สามารถมีผู้เข้าร่วมได้หลายๆคน (many-to-many)
        เมื่อมีสภาพของการเป็นสื่อสังคม สิ่งสำคัญก็คือการสนทนาพาทีที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นการร่วมกลุ่มคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกัน หรือการวิพากษ์วิจารณ์สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยที่ไม่มีใครเข้ามาควบคุมเนื้อหาของการสนทนา แม้กระทั่งตัวผู้ผลิตเนื้อหานั่นเอง เพราะผู้ที่ได้รับสารมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรูปแบบของการเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งเข้าไปแก้ไขเนื้อหานั้นได้ด้วยตัวเอง
      3 เป็นสื่อที่เปลี่ยนผู้คนจากผู้บริโภคเนื้อหาเป็นผู้ผลิตเนื้อหา
      จากคนตัวเล็กๆในสังคมที่แต่เดิมไม่มีปากมีเสียงอะไรมากนัก เพราะเป็นเพียงคนรับสื่อ ขณะที่สื่อ
จำพวก โทรทัศน์ วิทยุ หรือ หนังสือพิมพ์จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างมาก สามารถชี้ชะตาใครต่อใครหรือสินค้าหรือบริการใดโดยที่เราแทบจะไม่มีทางอุทธรณ์ แต่เมื่อเป็น Social Media ที่แทบจะไม่มีต้นทุน ทำให้ใครๆก็สามารถผลิตเนื้อหาและกระจายไปยังผู้รับสารได้อย่างเสรี หากใครผลิตเนื้อหาที่โดยใจคนหมู่มาก ก็จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลไป ยิ่งหากเป็นในทางการตลาด ก็สามารถโน้มนำผู้ติดตามในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยง่าย 
ประเภทของ Social Media
        1 Blog
            ซึ่งเป็นการลดรูปจากคำว่า Weblog ซึ่งถือเป็นระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเขียนบทความเรียกว่า Post และทำการเผยแพร่ได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยากในการที่จะต้องมานั่งเรียนรู้ถึงภาษา HTML หรือโปรแกรมทำ web site ทั้งนี้การเรียงของเนื้อหาจะเรียงจากเนื้อหาที่มาใหม่สุดก่อน จากนั้นก็ลดหลั่นลงไปตามลำดับของเวลา (Chronological Order) การเกิดของ Blog เปิดโอกาสให้ใครๆที่มีความสามารถในด้านต่างๆ สามารถเผยแพร่ความรู้ดังกล่าวด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ไม่มีขีดจำกัดเรื่องเทคนิคอย่างในอดีตอีกต่อไป ทำให้เกิด Blog ขึ้นมาจำนวนมากมาย และเพิ่มเนื้อหาให้กับโลกออนไลน์ได้เป็นจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากนี้เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะของ Social คือการเปิดให้เพื่อนๆเข้ามาแสดงความเห็นได้นั่นเอง

        2 Twitter และ Microblog อื่นๆ
            เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของการ Post แต่ละครั้งไว้ที่ 140 ตัวอักษร โดยแรกเริ่มเดิมที ผู้ออกแบบ Twitter ต้องการให้ผู้ใช้เขียนเรื่องราวว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ในขณะนี้ (What are you doing?) แต่กิจการต่างๆกลับนำ Twitter ไปใช้ในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการบอกต่อ เพิ่มยอดขาย สร้าง Brand  หรือเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ทั้งนี้เรายังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์บทความใหม่ๆบน Blog ของเราได้ด้วย Twitter นั้นเป็นนิยมขึ้นมากอย่างรวดเร็ว จนทำให้เว็บไซต์ประเภท Social Network ต่างๆ เพิ่ม Feature ที่ให้ผู้ใช้สามารถบอกได้ว่าตอนนี้กำลังทำอะไรกันอยู่ นั้นก็คือการนำ Microblog เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งด้วยนั้นเอง
        3 Social Networking
             จากชื่อก็สามารถแปลความหมายได้ว่าเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเรากับเพื่อนๆจนกลายเป็นสังคม ทั้งนี้ผู้ใช้จะเริ่มต้นสร้างตัวตนของตนเองขึ้นในส่วนของ Profile ซึ่งประกกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว (Info) รูป (Photo) การจดบันทึก (Note) หรือการใส่วิดีโอ (Video) และอื่นๆ นอกจากนี้ Social Networking ยังมีเครื่องมือสำคัญในการสร้างจำนวนเพื่อนให้มากขึ้น คือ ในส่วนของ Invite Friend และ Find Friend รวมถึงการสร้างเพื่อนจากเพื่อนของเพื่อนอีกด้วย
        4 Media Sharing
           เป็นเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถ upload รูปหรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับครอบครัว เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน นักการตลาด ณ ปัจจุบันไม่จำเป็นจะต้องทุ่มทุนในการสร้างหนังโฆษณาที่มีต้นทุนสูง เราอาจจะใช้กล้องดิจิตอลราคาถูกๆ ถ่ายทอดความคิดเป็นรูปแบบวิดีโอ จากนั้นนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์ Media Sharing อย่าง Youtube หากความคิดของเราเป็นที่ชื่นชอบ ก็ทำให้เกิดการบอกต่ออย่างแพร่หลาย หรือกรณีหากกิจการคุณขายสินค้าที่เน้นดีไซน์ที่สวยงาม ก็อาจจะถ่ายรูปแล้วนำขึ้นไปสู่เว็บไซต์อย่าง Flickr เพื่อให้ลูกค้าได้ชม หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือในการนำชมโรงงาน หรือบรรยากาศในการทำงานของกิจการ เป็นต้น หรืออย่างกรณีของ Multiply ที่คนไทยนิยมนำรูปภาพที่ตนเองถ่ายมาแสดงฝีมือ เหมือนเป็นแกลลอรีส่วนตัว ทำให้ผู้ว่าจ้างได้เห็นฝีมือก่อนที่จะทำการจ้าง
        5 Social News and Bookmarking
            เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาใดในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและเปิดโอกาสให้คะแนนและทำการโหวตได้ เป็นเสมือนมหาชนช่วยกลั่นกรองว่าบทความหรือเนื้อหาใดนั้นเป็นที่น่าสนใจที่สุด ในส่วนของ Social Bookmarking นั้น เป็นการที่เปิดโอกาสให้คุณสามารถทำการ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบ โดยไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่สามารถทำผ่านออนไลน์ และเนื้อหาในส่วนที่เราทำ Bookmark ไว้นี้ สามารถที่จะแบ่งปันให้คนอื่นๆได้ด้วย นักการตลาดจะใช้เป็นเครื่องมือในการบอกต่อและสร้างจำนวนคนเข้ามายังที่เว็บไซต์หรือ Campaign การตลาดที่ต้องการ
        6 Online Forums
             ถือเป็นรูปแบบของ Social Media ที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเสมือนสถานที่ที่ให้ผู้คนเข้ามาพูดคุยในหัวข้อที่พวกเขาสนใจ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่อง เพลง หนัง การเมือง กีฬา สุขภาพ หนังสือ การลงทุน และอื่นๆอีกมากมาย ได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนถึงการแนะนำสินค้าหรือบริการต่างๆ นักการตลาดควนสนใจเนื้อหาที่พูดคุยใน Forums เหล่านี้ เพราะบางครั้งอาจจะเป็นคำวิจารณ์เกี่ยวกับตัวสินค้าและบริการของเรา ซึ่งเราเองสามารถเข้าไปทำความเข้าใจ แก้ไขปัญหา ตลอดจนถึงใช้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า  เว็บไซต์ประเภท Forums อาจจะเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเฉพาะ หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งในเว็บไซต์เนื้อหาต่างๆ
อ้างอิง
http://www.youtube.com/watch?v=zu4-u3OhfKI   สืบค้นเมื่อวันที่  24 กันยายน พ.ศ 2557
http://biologystem.blogspot.com/2013/02/social-media.html สืบค้นเมื่อวันที่  25 กันยายน พ.ศ 2557
(http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=694) สืบค้นเมื่อวันที่  25 กันยายน พ.ศ 2557
 http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=718 สืบค้นเมื่อวันที่  25 กันยายน พ.ศ 2557

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

อิทธิพลสื่อเทคโนโลยีต่อสื่อการศึกษา

                                  สื่อและเทคโนโลยี
 ความหมายของ "สื่อ"                                                                                                                                                    
ภาษาไทย "สื่อ" ภาษาอังกฤษ "media" ความหมายรวม "medium"  ความหมายสื่อแต่ละด้านมีดังนี้.
         "สื่อ" (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน   
         "สื่อ" (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ     
         "สื่อ" (ศิลปะ) หมายถึง วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม เช่น สื่อผสม      
          Heinich และคณะ (1996)  "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" ขยายความคือ อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
สา       A.J. Romiszowski (1992) "สือ คือตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือผู้เรียน)เรียน)                                                                                                                                         
***สรุป "สื่อ"หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร
 
ความหมายของ "เทคโนโลยี" 
นักวิชาการต่างประเทศ "Technology" 
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า"Technology" เป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน
เดล (Dale..1969) ให้ความหมายว่า"Technology" ประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า"Technology" ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ                                                                                                                                           
              นักวิชาการไทย  "เทคโนโลยี"  
              ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่า"เทคโนโลยี"  หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า"เทคโนโลยี"คือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล 
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170)  กล่าวว่า "เทดโนโลยี คือความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
                                                                                                                              
 ***สรุปได้ว่า"เทคโนโลยี" หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์หรือสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงาน และมีกระบวนการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อประโยชน์อันสูงสุด  
                                                                                                                                    
 *** สรุปโดยรวม "สื่อเทคโนโลยี" หมายถึง การพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและกระบวนการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ

                                        
  สื่อเทคโนโลยีด้านการศึกษา

                 กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
                กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึงถึง           
                
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น                                                                              2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)   
                3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
   
                                                                                                                                                                            

*** จึง สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           อิทธิพลของสื่่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อสื่อการศึกษาศึกษา                        *** จากความหมายของ"สื่อเทคโนโลยี"มีความหมายที่แตกต่างกัน และหลายประเภท จึงยกสื่อเทคโนโลยี (ICT) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์  
                                                                                                             สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ICT)
ในปัจจุบันเทคโนโลยี (ICT) มีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาสากลเป็นอย่างมาก (โดยมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก) ที่ทำหน้าที่ใน การจัดการข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไปยังผู้รับข้อมูล  หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารหาข้อมูลความรู้ในการศึกษาจากเทคโนโลยี  หรือแหลกเปลี่ยนความรู้กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อหาความรู้และโลกทัศน์ใหม่ๆได้ เพราะ การศึกษาไม่หยุดอยู่ในห้องเรียน หรือตำราเรียน                                               ผลกระทบของสื่อเทคโนโลยี (ICT) ในด้านการสื่อสารการศึกษากา
 - ด้านลบ
ในด้านครูผู้สอน
           1. ครูไม่ชำนาญ ขาดประสบการณ์ในการใช้งาน  หรืออายุมาก การใช้งานอาจคล่องตัว จีงทำให้นักเรียนขาดความสนใจเ เกิดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาที่เรียน อาจไม่อยากเรียนวิชานั้น และส่งผลกระทบต่อผู้สอน ทำให้ไม่หมั่นใจในการสอน
2. ในการใช้สื่อ(ICT)สอน อาจมีการใช้เวลาในการติดตั้ง และ setting เป็นการใช้เวลาพอสมควร จึงอาจทำให้นักเรียนขาดสมาธิก่อนเริ่มเรียน และครูอาจเสียเวลาในการสอนทบทวนเนื้อหาเดิมเนื้อหา 
3. เครื่องมือ (ICT) มีราคาสูง อาจไม่เหมาะสมกับโรงเรียนในขนบท หรือต่างจังหวัด เพราะต้องใช้ควาบคู่กับผู้ให้บริการ 3G ที่ไม่ควบคุม
4. ครูผู้สอนอาจตามนักเรียนไม่ทันในเรื่องให้ใช้งานและระบบ สื่อสาร จึงอาจเป็นผลเสีย แทนที่ครูสอนนักเรียนกับนักเรียนสอนครู เป็นต้น
                                                                     
                                                                     ในด้านผู้เรียน
1. นักเรียนขาดสมาธืในการเรียน
2. นักเรียนขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
3. นักเรียนลายมือไม่สวย เพราะพิมพ์ อย่างเดียว
4. นักเรียนอาจลอกการบ้านเพื่อน ผ่านระบบให้บริการ App หรือ Program ต่างๆ เช่น line facebook instagram เป็นต้น
5. ครูไม่สามารถควบคุมการใช้งานของนักเรียนได้ หรือทำได้ยาก
6. นักเรียนอาจขาดวิจารณญาณในการรับข่าวสาร และทำให้ได้รับความรู้ที่ผิด และจำข้อมูลผิดๆได้ เพราะสื่อเร็วมาก หลายที่มา ขาดการค้ดกรอง
7. สิ้นเปลือง เครื่องมือสื่อสารมีราคาแพง แล้วยังต้องใช้บริการInternet ร่วมด้วย                                                                


ในด้านสถานศึกษา
1. สถานศึกษาอาจขาดงบประมาณในการจัดซื้อ เครื่องมือ อุปกรณ์ IT จนทำให้นักเรียนขาดการใช้งานและสื่อต่างๆ ทางการศึกษา
2. สถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความรู้ IT เพื่อ ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้ทันสมัย และมีสภาพดี เพื่อพร้อมที่จะให้นักเรียนใช้งาน
3. สถานศึกษาต้องมีการติดตั้ง ระบบ Internet ให้มีความพร้อม เพราะถ้าอุปกรณ์พร้อม แต่ระบบไม่พร้อง การศึกษาของนักเรียนภายในโรงเรียนก็ไม่พัฒนาตามเทคโนโลยี
                                                                               
                                                                                      -   ด้านบวก 
ในด้านผู้สอน
1. ผู้สอนชำนาญ ผู้เรียนสนุก ผู้เรียนอยากเรียน สนใจในเนื้อหาวิชา
2. ครูและนักเรียนอาจมีการโต้ตอบ ซักถาม โดยการใช้สื่อเป็นตัวกลางในการตอบ เช่น ตอบคำถามโดยการโชว์คำตอบบนสไลต์ เป็นต้น
3. ครูสามารถเป็นครูที่ทันสมัย เข้าใจสื่อ ตามข่าวสาร  จะได้ตามนักเรียนทัน เหมาะกับครูในศตวรรษที่ 21 ความรู้ไม่หยุดอยู่ในตำรา
4. ครูสามารถ ให้นักเรียนหาข้อมูล จากสื่อหลายแหล่ง  แล้วมาสรุปเป็นใจความ ก็สามารถปรับเป็นความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนได้
5. ครูสั่งการบ้านแบบ Online ได้ หรือตรวจการบ้าน Online ที่บ้านได้ ประหยัดเวลาในห้องเรียนได้ได้                                                                                                                                                                                               ในด้านผู้เรียน
1.นักเรียนสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม หรือเนื้อหานอกห้องเรียนได้ จากหลายๆ แหล่งที่มา
2. นักเรียนสามารถส่งงานหรือการบ้าน ถามคำถาม แบบOnline ได้
3. นักเรียนมีความสนใจ ในการเรียนมากขึ้น เพราะมีสื่อที่น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจ และเข้าใจง่ายในการดูวีดีโอ หรือรูปภาพเป็นต้น
4. เป็นการนำสื่อ และเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้อย่างมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในด้านการศึกษา

บทบาทของสถานศึกษา
1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

                                                                                          
ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
ประสบการณ์ ตรง จาก โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม
1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้

2. หลักสูููตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน
4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน




***สรุป การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ในการศึกษา ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ระบอบการศึกษาไทย ได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT เพราะ เทคโนโลยีก็มีด้านดี และด้านเสียที่แตกต่างกัน อยู่ที่การควบคุมดูแลของผู้ใช้งานว่าจะใช้ในด้านใด 






                    อ้างอิง
http://www.elmoglobal.com/th/html/ict/01.aspx   สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2557
สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2557
http://www.zoneza.com/view3833.htm สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2557


วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

Keynote นวัตกรรมทางการศึกษา

ความหมายของนวัตกรรม
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ  เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่าแม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

  

จากข้อความข้างต้นนวัตกรรมทางการศึกษา คือ
นวัตกรรม  หมายถึง เครื่องมือ สื่อ หรือ วิธีการใหม่ๆ ที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดี มีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้นจะคิดใหม่  หรือดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิม หรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น และนำมาใช้อีก ถือเป็น “นวัตกรรม “
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อ แนวคิด วิธีการกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร

**จากความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาข้างต้นดิฉันมีความสนใจโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นสำนวนของตนเองดังหัวข้อต่อไปนี้
1.              สรุปลักษณะหรือรายละเอียดของนวัตกรรมที่ศึกษา
2.              ค้นคว้าทฤษฏีที่สนับสนุน
3.              การนำไปประยุกต์ใช้
4.              วิพากษ์ - ข้อดี ข้อจำกัด ข้อค้นพบ
*** จากความหมายข้างต้น นวัตกรรมที่เลือกน่าสนใจและได้ใช้งานจริง
     1.  สรุปลักษณะหรือรายละเอียดของนวัตกรรมที่ศึกษา
Application  Keynote
Application  Keynote  เป็น นวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับใช้ กับการเรียนการสอน ในศตวรรที่ 21 ได้
เพราะ Steve Jobsไม่ชอบการทำงาน ของPower point จึงมีการคิดค้น Application ที่สามารถสร้างสื่อมาปรับใช้แทนที่ ระบบ Windown  Microsoft Power point จึงมาใช้ระบบ IOS ในเครื่อง ของ Appple คือ iPad, iPhone, Mac book  ชึ่งคิด App keynote เพื่อใช้นำเสนองานของนักเรียน หรือ เป็นการสร้างสื่อการสอนของครู ในแง่ของการศึกษา
ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 




 2.   ค้นคว้าทฤษฏีที่สนับสนุน
Keynote โปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อนำเสนองานของ Steve Jobs
“เมื่อไม่มีโปรแกรมที่ถูกใจ งั้นก็สร้างเองเลยละกัน” คำพูดของ Steve Jobs
 ต้นปี 2001 Steve Jobs ได้เริ่มให้ทีมงานสร้างโปรแกรม Keynote เวอร์ชันแอลฟาขึ้นมาเป็นโปรแกรมนำเสนองานที่สร้างเพื่อให้ Steve Jobs ใช้คนเดียวเท่านั้น ในเวลาต่อมา Keynote ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามคำสั่งของ Steve Jobs ซึ่งเขาได้นำไปใช้นำเสนองานต่างๆ ตลอดจนถึงช่วงปี 2003  แต่ทางทีมงานนั้นก็ได้พัฒนา 
Keynote ให้จนเสร็จสมบูรณ์ Steve Jobs ก็เริ่มแน่ใจว่าเขาจะเปิดตัวซอฟต์แวร์นี้เพื่อแข่งขันกับ PowerPoint ได้ เขาชอบการเคลื่อนไหวที่น่าทึ่งของ Keynote เป็นการนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมแบบ Kinesthetic ตามที่เขาต้องการ
*นิยาม: Kinesthetic คือการรับรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ในการนำเสนอของ Steve Jobs นั้นจะเน้นใช้ Kinesthetic เพื่อทำให้คนนั้นดูเหมือนกับว่าสินค้าทำงานได้  
นอกจานี้ยังสอดคล้องกับ


  • ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หรือ ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ อีกทฤษฎีหนึ่ง ตามความเห็นของ อลัน ชอว์ (Alan Shaw) กล่าวว่า เคยคิดว่า ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับ การศึกษาเรียนรู้ แต่ความจริง มีมากกว่า การเรียนรู้ เพราะสามารถนำไปใช้ใน สภาวะการเรียนรู้ ในสังคม ได้ด้วย ชอว์ ทำการศึกษา เรื่องรูปแบบ และ ทฤษฎีการเรียนรู้ และพัฒนา เขาเชื่อว่า ในระบบการศึกษา มีความสำคัญต่อเนื่องไป ถึง ระบบโครงสร้างของสังคม เด็กที่ได้รับ การสอนด้วย วิธีให้อย่างเดียว หรือ แบบเดียว จะเสียโอกาส ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นเดียวกับสังคม ถ้าหากมีรูปแบบ แบบเดียว ก็จะเสียโอกาส ที่จะมีโครงสร้าง หรือพัฒนา ไปในด้านอื่น ๆ เช่นกัน 
  • ทฤษฎีการเรียนรู้จากการเก็บข้อมูล (Retention Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถที่จะ เก็บข้อมูล และเรียกข้อมูลที่เก็บเอาไว้กลับคืนมา ทั้งนี้รวมถึง รูปแบบของข้อมูล ความมากน้อยของข้อมูล จากการเรียนรู้ขั้นต้น แล้วนำไปปฏิบัติ 
  • ทฤษฎีการเรียนรู้โดยใช้การโยกย้ายปรับเปลี่ยนข้อมูล (Transfer Theory) ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การเรียนรู้มาจาก การใช้ความเชื่อมโยง ระหว่าง ความเหมือน หรือความเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า ทฤษฎีนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อมูลขั้นต้นที่เก็บเอาไว้ด้วยเช่นกัน 
  • ทฤษฎีของความกระตือรือร้น (Motivation Theory)ทฤษฎีนี้กล่าวว่า ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความกังวล การประสบความสำเร็จและผลที่จะได้รับด้วย เช่น ถ้าทำอะไรแล้วได้ผลดี เด็กจะรู้สึกว่า ตนเองประสบความสำเร็จ ก็จะมีความกระตือรือร้น 
3. การนำไปประยุกต์ใช้

เนื่องด้วย โรงเรียนอัสชัญคอนแวนต์  สีลม ผู้บริหารได้มีนโยบายการนำ iPad มาใช้ในการเรียนการสอน และทุกห้องเรียนมี Apple TV. ซึ่งรองรับการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้ iPad,iPhone หรือ เครื่อง Mac  และห้องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เครื่อง Mec ด้วยเช่นเดียวกัน โดยบริษัท Apple Thailand เพื่อการศึกษา ได้ให้ความรู้ และสนับสนุน จึงมีการใช้งาน iPad หรือ เครื่อง Mec  ในระบบ IOS อยู่แล้ว และมีการอบรมเกี่ยวกับ Application สำหรับการศึกษาตลอด เช่น ibook imovie iTunes u และอื่นๆอีกมากมาย และ ดิฉันมีความสนใจและได้ใช้งานจริง จึงคิดว่าเป็น นวัตกรรมทางการศึกษานี้มีประโยชน์ เหมาะสำหรับการนำมาปรับใช้ในระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เช่น ให้นักเรียนสรุปเนื้อหาเรื่อง แรงลัพธ์  ใน Keynote มานำเสนอหน้าชั้นเรียน  หรือ สุ่มเลือกนักเรียน 1 คน นำเสนอคำตอบที่ครูถาม ขึ้นจอหน้าชั้นเรียนใน Keynote เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับใช้งานของครูแต่ละท่าน

       4.  วิพากษ์- ข้อดี ข้อจำกัด ข้อค้นพบ
  • จุดเด่น
      สามารถใช้นำเสนองาน สร้างสื่อการสอนได้ทันที
          - สามารถสร้างแบบทดสอบที่หลากหลาย  และมีการประเมินผลได้ในตัว
    - สื่อการสอนมีลูกเล่นที่หลากหลายที่สร้างสามารถใส่ทั้ง ภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆได้
  • ข้อดี
           - Application Keynote ในระบบการศึกษา เป็นการนำเสนองานอย่างไม่ยุ่งยาก โดยรูปภาพหรือข้อมูลที่ค้นหามาแล้วสามารถ Coppy แล้ววางบน Application Keynote นำเสนอขึ้นจอได้เลยง่ายต่อผู้เรียนและผู้สอนโดยไม่ต้องกลัวงานหาย เพราะครูให้นักเรียน Save ไว้ใน icloud และป้องกัน ไวรัสด้วย
  •  ข้อเสีย
        -   ยังมีการใช้กันอย่างไม่แพร่หลายเท่าที่ควรในระบบการศึกษาไทย  และการให้ความรู้หรือ อบรมของโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดยังไม่ทั่วถึงในเรื่องเทคโนโลยี และระบบ 3ที่ให้บริการต้องใช้งานควบคู่กันกับตัวเครื่อง Apple และอุปกรณ์อื่นๆของApple ที่มีราคาสูง

 อ้างอิง
http://www.macthai.com/2013/08/29/the-beginning-of-keynote/สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2557
http://www.apple.com/th/creativity-apps/mac/ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557
 http://www.kroobannok.com/2171  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557




นางสาว ชลัยรัตน์ บุญมา รหัสนิสิต 57199130042