วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

อิทธิพลสื่อเทคโนโลยีต่อสื่อการศึกษา

                                  สื่อและเทคโนโลยี
 ความหมายของ "สื่อ"                                                                                                                                                    
ภาษาไทย "สื่อ" ภาษาอังกฤษ "media" ความหมายรวม "medium"  ความหมายสื่อแต่ละด้านมีดังนี้.
         "สื่อ" (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน   
         "สื่อ" (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ     
         "สื่อ" (ศิลปะ) หมายถึง วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม เช่น สื่อผสม      
          Heinich และคณะ (1996)  "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" ขยายความคือ อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
สา       A.J. Romiszowski (1992) "สือ คือตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือผู้เรียน)เรียน)                                                                                                                                         
***สรุป "สื่อ"หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร
 
ความหมายของ "เทคโนโลยี" 
นักวิชาการต่างประเทศ "Technology" 
บราวน์ (Brown) กล่าวว่า"Technology" เป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน
เดล (Dale..1969) ให้ความหมายว่า"Technology" ประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กัลเบรท (Galbraith 1967) ได้ให้ความหมายของคำว่า"Technology" ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ                                                                                                                                           
              นักวิชาการไทย  "เทคโนโลยี"  
              ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539) ได้ให้รายละเอียดของคำว่า"เทคโนโลยี"  หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า"เทคโนโลยี"คือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล 
ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170)  กล่าวว่า "เทดโนโลยี คือความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
                                                                                                                              
 ***สรุปได้ว่า"เทคโนโลยี" หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์หรือสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงาน และมีกระบวนการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อประโยชน์อันสูงสุด  
                                                                                                                                    
 *** สรุปโดยรวม "สื่อเทคโนโลยี" หมายถึง การพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบและกระบวนการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ

                                        
  สื่อเทคโนโลยีด้านการศึกษา

                 กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2517ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอนตามนัยนี้เทคโนโลยีการศึกษาจึงครอบคลุมเรื่องต่างๆ 3 ด้าน คือ การนำเอาเครื่องมือใหม่ๆมาใช้ในการเรียนการสอน การผลิตวัสดุการสอนแนวใหม่ รวมถึงการใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
                กาเยและบริกส์ (Gagne and Briggs 1974) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้นพัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆโดยรวมถึงถึง           
                
1. ความสนใจในเรื่องความแตกต่างๆระหว่างบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบโปรแกรม และบทเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น                                                                              2. ด้านพฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของบี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F Skinner)   
                3. เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
   
                                                                                                                                                                            

*** จึง สรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           อิทธิพลของสื่่อเทคโนโลยีที่มีผลต่อสื่อการศึกษาศึกษา                        *** จากความหมายของ"สื่อเทคโนโลยี"มีความหมายที่แตกต่างกัน และหลายประเภท จึงยกสื่อเทคโนโลยี (ICT) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์  
                                                                                                             สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ  (ICT)
ในปัจจุบันเทคโนโลยี (ICT) มีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาสากลเป็นอย่างมาก (โดยมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก) ที่ทำหน้าที่ใน การจัดการข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไปยังผู้รับข้อมูล  หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารหาข้อมูลความรู้ในการศึกษาจากเทคโนโลยี  หรือแหลกเปลี่ยนความรู้กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อหาความรู้และโลกทัศน์ใหม่ๆได้ เพราะ การศึกษาไม่หยุดอยู่ในห้องเรียน หรือตำราเรียน                                               ผลกระทบของสื่อเทคโนโลยี (ICT) ในด้านการสื่อสารการศึกษากา
 - ด้านลบ
ในด้านครูผู้สอน
           1. ครูไม่ชำนาญ ขาดประสบการณ์ในการใช้งาน  หรืออายุมาก การใช้งานอาจคล่องตัว จีงทำให้นักเรียนขาดความสนใจเ เกิดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาที่เรียน อาจไม่อยากเรียนวิชานั้น และส่งผลกระทบต่อผู้สอน ทำให้ไม่หมั่นใจในการสอน
2. ในการใช้สื่อ(ICT)สอน อาจมีการใช้เวลาในการติดตั้ง และ setting เป็นการใช้เวลาพอสมควร จึงอาจทำให้นักเรียนขาดสมาธิก่อนเริ่มเรียน และครูอาจเสียเวลาในการสอนทบทวนเนื้อหาเดิมเนื้อหา 
3. เครื่องมือ (ICT) มีราคาสูง อาจไม่เหมาะสมกับโรงเรียนในขนบท หรือต่างจังหวัด เพราะต้องใช้ควาบคู่กับผู้ให้บริการ 3G ที่ไม่ควบคุม
4. ครูผู้สอนอาจตามนักเรียนไม่ทันในเรื่องให้ใช้งานและระบบ สื่อสาร จึงอาจเป็นผลเสีย แทนที่ครูสอนนักเรียนกับนักเรียนสอนครู เป็นต้น
                                                                     
                                                                     ในด้านผู้เรียน
1. นักเรียนขาดสมาธืในการเรียน
2. นักเรียนขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
3. นักเรียนลายมือไม่สวย เพราะพิมพ์ อย่างเดียว
4. นักเรียนอาจลอกการบ้านเพื่อน ผ่านระบบให้บริการ App หรือ Program ต่างๆ เช่น line facebook instagram เป็นต้น
5. ครูไม่สามารถควบคุมการใช้งานของนักเรียนได้ หรือทำได้ยาก
6. นักเรียนอาจขาดวิจารณญาณในการรับข่าวสาร และทำให้ได้รับความรู้ที่ผิด และจำข้อมูลผิดๆได้ เพราะสื่อเร็วมาก หลายที่มา ขาดการค้ดกรอง
7. สิ้นเปลือง เครื่องมือสื่อสารมีราคาแพง แล้วยังต้องใช้บริการInternet ร่วมด้วย                                                                


ในด้านสถานศึกษา
1. สถานศึกษาอาจขาดงบประมาณในการจัดซื้อ เครื่องมือ อุปกรณ์ IT จนทำให้นักเรียนขาดการใช้งานและสื่อต่างๆ ทางการศึกษา
2. สถานศึกษาขาดบุคลากรที่มีความรู้ IT เพื่อ ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้ทันสมัย และมีสภาพดี เพื่อพร้อมที่จะให้นักเรียนใช้งาน
3. สถานศึกษาต้องมีการติดตั้ง ระบบ Internet ให้มีความพร้อม เพราะถ้าอุปกรณ์พร้อม แต่ระบบไม่พร้อง การศึกษาของนักเรียนภายในโรงเรียนก็ไม่พัฒนาตามเทคโนโลยี
                                                                               
                                                                                      -   ด้านบวก 
ในด้านผู้สอน
1. ผู้สอนชำนาญ ผู้เรียนสนุก ผู้เรียนอยากเรียน สนใจในเนื้อหาวิชา
2. ครูและนักเรียนอาจมีการโต้ตอบ ซักถาม โดยการใช้สื่อเป็นตัวกลางในการตอบ เช่น ตอบคำถามโดยการโชว์คำตอบบนสไลต์ เป็นต้น
3. ครูสามารถเป็นครูที่ทันสมัย เข้าใจสื่อ ตามข่าวสาร  จะได้ตามนักเรียนทัน เหมาะกับครูในศตวรรษที่ 21 ความรู้ไม่หยุดอยู่ในตำรา
4. ครูสามารถ ให้นักเรียนหาข้อมูล จากสื่อหลายแหล่ง  แล้วมาสรุปเป็นใจความ ก็สามารถปรับเป็นความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนได้
5. ครูสั่งการบ้านแบบ Online ได้ หรือตรวจการบ้าน Online ที่บ้านได้ ประหยัดเวลาในห้องเรียนได้ได้                                                                                                                                                                                               ในด้านผู้เรียน
1.นักเรียนสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม หรือเนื้อหานอกห้องเรียนได้ จากหลายๆ แหล่งที่มา
2. นักเรียนสามารถส่งงานหรือการบ้าน ถามคำถาม แบบOnline ได้
3. นักเรียนมีความสนใจ ในการเรียนมากขึ้น เพราะมีสื่อที่น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจ และเข้าใจง่ายในการดูวีดีโอ หรือรูปภาพเป็นต้น
4. เป็นการนำสื่อ และเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้อย่างมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพในด้านการศึกษา

บทบาทของสถานศึกษา
1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู

                                                                                          
ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
ประสบการณ์ ตรง จาก โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม
1. ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้

2. หลักสูููตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน
4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน




***สรุป การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ในการศึกษา ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษา และหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ระบอบการศึกษาไทย ได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT เพราะ เทคโนโลยีก็มีด้านดี และด้านเสียที่แตกต่างกัน อยู่ที่การควบคุมดูแลของผู้ใช้งานว่าจะใช้ในด้านใด 






                    อ้างอิง
http://www.elmoglobal.com/th/html/ict/01.aspx   สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2557
สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2557
http://www.zoneza.com/view3833.htm สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2557


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น